ฟิล์มกรองแสง (Window film) คืออะไร ทำไมถึงสามารถกรองแสงและรังสีได้?
การเลือกใช้ฟิล์มกรองแสงนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้ใช้รถในเมืองไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงแดดและความร้อนในเมืองไทยนั้นสูงและแรงมาก การใช้รถบนถนนจึงจำเป็นจะต้องมีฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพดี ทำให้ฟิล์มกรองแสงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในรถยนต์ประเทศไทย แทบทุกคัน
หลายคนยังสนใจ บทความน่ารู้เพิ่มเติม
สอบถาม Spec ฟิล์มกรองแสงกับเราได้ทันทีครับ
นอกจากเราควรพิถีพิถันในการเลือกประเภทของฟิล์ม และ ยี่ห้อของฟิล์มแล้วนั้น การเลือกคุณสมบัติและความเข้มของฟิล์มก็เป็นส่วนสำคัญที่ควรเอามาพิจารณาตัดสินใจ แต่ก่อนที่เราจะรู้ถึงคุณสมบัติ Spec ต่างๆของฟิล์มกรองแสงนั้น เราควรจะรู้ก่อนว่า ฟิล์มกรองแสง คืออะไร?
ฟิล์มกรองแสง (Window Film) คืออะไร?
ฟิล์มกรองแสง (Window Film) คือ แผ่นลามิเนตบางชนิดหนึ่ง ผลิตมาจาก Polyethylene terephthalate หรือ PET สามารถติดตั้งได้ลงบนแผ่นกระจก ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก สามารถติดตั้งได้ทั้งรถยนต์ เรือ หรือแม้กระทั่งติดฟิล์มอาคารบ้านเรือนต่างๆ
ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง มีความใสเคลีย มีความสามารถในการเคลือบด้วยสารป้องกันความร้อนในแบบต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งโดยปกติแล้ว ฟิล์มกรองแสงที่ผลิตมาจาก PET มักจะใช้ในขวดน้ำอัดลมขวดใส ขวดเครื่องดื่มอื่นๆด้วย เป็นต้น
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Window_film
เทคนิคการเลือกฟิล์มกรองแสงแบบไหนดี? ให้เหมาะสมกับคุณ
ขณะที่คุณกำลังพิจารณาประเภทและวัสดุฟิล์มกรองแสงสำหรับรถของคุณนั้น คุณจะต้องเข้าใจตัวเลือกฟิล์มกรองแสงแบบต่าง ๆ ก่อนจึงจะเลือกฟิล์มที่เหมาะสมได้
การแบ่งตัวเลือกของคุณตามคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในตลาดอาจช่วยได้ คุณลักษณะบางอย่างที่คุณอาจมองหา ได้แก่:
1. ดูเฉดสีของฟิล์มกรองแสง
เฉดสีคือสีของโทนฟิล์มกระจก คุณจะต้องการสีฟิล์มที่สวยงามต่อรูปลักษณ์โดยรวมของรถของคุณ อยากได้สีดำ สีใส สีเขียว สีฟ้า เป็นต้น ซึ่งการเลือกเฉดสีฟิล์มติดรถยนต์ที่คุณต้องการได้แล้ว ก็จะนำไปสู่การเลือกประเภทฟิล์มต่อไป
2.ความคงตัวของสี สีฟิล์มไม่ซีดจาง
อีก 1 สิ่งที่คุณต้องพิจารณาคือ สีของฟิล์มจะทนต่อรังสี UV ได้นานหลายปีแค่ไหน? คุณควรมองหาตัวเลือกฟิล์มติดกระจกที่มีความเสถียรของสีที่ยาวนาน สีไม่ซีดจางตามกาลเวลา อย่างน้อย 5-7 ปี
3. ความคมชัด ชัดเจนของฟิล์มกรองแสง
เพื่อความปลอดภัยของคุณ คุณต้องมีฟิล์มติดกระจกรถยนต์ที่ให้ทัศนวิสัยที่ชัดเจน ลดการสะท้อน และเพิ่มความคมชัดในตอนกลางวันและตอนกลางคืน ซึ่งในปัจจุบัน ฟิล์มเซรามิค และฟิล์มนาโนคาร์บอน ก็สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้เป็นอย่างดี
4. เลือกฟิล์มกรองแสงจากการลดความร้อนจากแสงแดด
ใครๆก็อยากให้รถเย็น ไม่ร้อนเป็นเตาอบใช่มั้ยครับ หากภายในรถของคุณร้อนเกินไป การติดฟิล์มกรองแสงเพื่อควบคุมความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญ ความร้อนที่มากเกินไปจะสร้างบรรยากาศที่ไม่สบายใจและไม่ปลอดภัยสำหรับภายในรถของคุณ
เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการฟิล์มที่ลดความร้อนสูง เราอาจจะแนะนำฟิล์มปรอทสะท้อนแสง หรือ ฟิล์มเซรามิค จะช่วยตอบโจทย์ได้
ให้เราช่วยแนะนำฟิล์มกรองแสงที่ถูกใจ ปรึกษาเราสิครับ
วิธีอ่าน spec ฟิล์มกรองแสง ค่าต่างๆ อ่านยังไง?
ฟิล์มกรองแสงทุกประเภท และทุกยี่ห้อนั้น จะมีค่าหลายอย่างที่นำเสนอให้ลูกค้าได้เลือกอยู่ใน โบรชัว หรือ แคตตาล็อค
ดังนั้นการอ่านค่าและแปลความหมายของค่าต่างๆ ที่โชว์อยู่ในใบโบรชัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกฟิล์ม
การที่เราสามารถอ่านและเข้าใจความหมายของค่าได้จะทำให้เรารู้ประสิทธิภาพการกันความร้อน ประสิทธิภาพการกันแสง และ ความเข้มของฟิล์ม
ตัวอย่างคุณสมบัติต่างๆ ของฟิล์มกรองแสง
มาเริ่มที่คุณสมบัติแรกของฟิล์มติดรถยนต์ที่โชว์อยู่ในโบรชัวคือ VLT (Visible Light Transmittance )
ค่าแสงสว่างส่องผ่าน (VLT) คืออะไร?
VLT (Visible Light Transmittance ) หรือ ในภาษาไทยเรียกว่าค่า % แสงส่องผ่าน คือตัวเลข % ที่บ่งบอกความเข้มของฟิล์ม VLT ยิ่งน้อยแสดงว่าฟิล์มนั้นยิ่งเข้มมาก ยิ่งมีความดำมาก ถ้า VLT มาก แสดงว่าฟิล์มนั้นมีความใสมากนั่นเอง
VLT (Visible Light Transmittance ) มีค่าตั้งแต่ 0-100% ค่า VLT ตัวนี้จะบ่งบอกถึงแสงที่สามารถส่องเข้ามาภายใน ยิ่งค่า VLT น้อยฟิล์มจะยิ่งทึบ หรือ ยิ่งค่าเปอเซนต์ VLT มากฟิล์มจะยิ่งใสขึ้น ซึ่งถ้าฟิล์มแสงสว่างส่องผ่านน้อย (VLTต่ำ) จะมีส่วนในการป้องกันความร้อนที่ดีมากขึ้นอีกด้วย
หลายคนยังสนใจข้อมูลเพิ่มเติม: ติดฟิล์มเข้ม 40 60 80 แบบไหนดี?
ฟิล์มเข้ม 40 60 80 หมายถึงอะไร?
โดยปกติที่เรียกกันว่าฟิล์ม 40 60 หรือ 80 นั้นก็จะมาจากค่าแสงส่องผ่านของฟิล์มแบบคร่าวๆ คือ 40 เข้มน้อย 60 เข้มกลาง 80 เข้มมาก แต่ถ้าจะให้ละเอียด ต้องดูที่ค่า VLT หรือค่าแสงสว่างส่องผ่าน
โดยทั่วไปนั้น
ฟิล์ม40% จะมีแสงส่องผ่านอยู่ประมาณ 35-40%
ฟิล์ม60% จะมีค่าแสงส่องผ่านอยู่ประมาณ 18-25%
และฟิล์ม 80% จะมีค่าแสงส่องผ่านอยู่ที่ต่ำกว่า 6% ลงไป
โดยรวมแล้วการเลือก VLT หรือ เปอร์เซ็นต์ความเข้มจึงมีความสำคัญต่อความเข้มและความเป็นส่วนตัวในรถยนต์ และมีผลต่อการป้องกันความร้อนด้วย
สนใจติดฟิล์มกรองแสงความเข้มต่างๆ
ค่าการป้องกันรังสียูวี (UVR) คืออะไร
แสง UV หรือรังสี UV ย่อมาจากรังสี Ultraviolet เป็นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แสง UV จากดวงอาทิตย์นั้นมีผลทำให้ผิวคล้ำ เกิดมะเร็งผิวหนัง และยังทำให้สภาพภายในของรถยนต์ เสื่อมสภาพ และ ซีดจางอีกด้วย
ค่า UVR (Ultraviolet Rejected) คือ ค่าการป้องกันรังสี Ultraviolet คลื่นความถี่ 100-400 nm ซึ่งเป็นรังสีที่อันตรายมากที่สุด โดยทั่วไป ฟิล์มกรองแสงที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะสามารถกันรังสี UV ได้ 99.9% หรือเกือบ 100% กันหมดแล้ว
จึงไม่ได้เป็นคุณสมบัติเด่นแต่อย่างไร ดังนั้นการเลือกฟิล์มก็ควรดูฟิล์มที่สามารถกันรังสี UV ได้ไม่ต่ำกว่า 95% เป็นอย่างน้อยนั่นเอง
ค่าการป้องกันรังสีอินฟราเรด (IRR) คืออะไร
ค่า IR คือ รังสีอินฟราเรด ซึ่งเป็นตัวแทนบ่งบอกถึงรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์
ค่าลดรังสีความร้อน หรือ ค่าลดรังสีอินฟาเรด (IRR) ย่อมาจาก Infrared rejection คือ รังสีความร้อนที่ส่งผ่านมาจากดวงอาทิตโดยตรง และสามารถผ่านเข้ามาในบรรยากาศโลกได้ในปริมาณมาก ดังนั้นถ้าอยากจะเลือกฟิล์มกรองแสงที่สามารถลดความร้อนภายในรถยนต์ได้ดี ควรเลือกฟิล์มที่สามารถกันรังสี อินฟราเรดได้มาก โดยปกติทั่วๆไป ฟิล์มระดับกลางในท้องตลาดจะสามารถกันรังสีอินฟราเรดได้ประมาณ 50-70%
ค่าการลดรังสีอินฟราเรดนี้ เป็นค่า spec ที่สำคัญที่ผู้บริโภคควรเลือกคำนึงถึง เนื่องการค่านี้มีผลโดยตรงต่อการลดรังสีความร้อนจากภายนอกรถยนต์ แต่ถ้าผู้บริโภคต้องการลงความร้อนได้ในระดับสูงให้ เข้ากับสภาพความร้อนของอากาศเมืองไทยควรเลือกฟิล์มกรองแสงที่มีระดับรังสีอินฟราเรด (IRR)ที่ 80% ขึ้นไป
สอบถามคุณสมับิตฟิล์มกรองแสงเพิ่มเติม ติดต่อเราสิครับ
ค่าการสะท้อนแสง (VLR) คืออะไร?
ค่า VLR (Visible Light Reflectance) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า ค่าสะท้อนแสง ค่าสะท้อนแสงนั้น จะเป็นค่าที่กำหนดความเงาหรือสะท้อนบนพื้นผิวของฟิล์มกรองแสง
ถ้าอธิบายให้เข้าใจคือ ยิ่งเปอเซนต์การสะท้องแสง VLR มาก ฟิล์มจะยิ่งมีความเงาเหมือนกระจกมากหรือเรียกกันง่ายๆว่าฟิล์มปรอท ส่วนฟิล์มที่มีค่าสะท้อนน้อยนั้นจะเรียกกันง่ายๆว่าฟิล์มดำ หรือฟิล์มจำพวกฟิล์มเซรามิค การสะท้อนแสงมีผลโดนตรงต่อทัศนวิสัย
ในการขับรถทั้งกลางวันและกลางคืน โดยทั่วไป ค่าสะท้อนแสงที่ควรเลือกใช้ เพื่อทัศนะวิสัยและการมองเห็นที่ดีในการขับขี่บนท้องถนนคือ ควรมี เปอเซ็นค่าสะท้อนแสงต่ำกว่า 10% ถ้ามากกว่านั้นฟิล์มจะมองดูเงาและไม่เคลียทำให้การ ขับขี่เป็นอันตรายทั้งผู้ขับและผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน
ค่าลดความร้อนรวม (TSER) คืออะไร?
ค่า TSER (Total Solar Energy Rejected) คือค่าลดความร้อนรวม เป็นการรวมการลดความร้อนของรังสี UV ค่าแสงสว่างส่องผ่าน ค่าการป้องกันรังสีอินฟราเรด รวม 3 รังสีเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนโดยรวมของฟิล์มกรองแสงนั่นเอง